วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์รับข้อมูล


อุปกรณ์รับข้อมูล

 

     การรับข้อมูล  (Input)  หมายถึง  กระบวนการป้อนข้อมูล  คำสั่ง  โปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์  ตลอดจนการโต้ตอบของผู้ใช้โปรแกรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์  นอกจากนี้คำว่า  input  ยังหมายถึง  อุปกรณ์ซึ่งสามารถป้อนข้อมูลและคำสั่งหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้

อุปกรณ์ป้อนข้อมูล  (keyed  device)

อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง  (pointing  and  drawing  devices)

อุปกรณ์กวาดข้อมูล  (scanning  devices)

อุปกรณ์รับ - แสดงเสียง (Audio - Input / Output Devices)

อุปกรณ์รับข้อมูลมัลติมีเดีย


อุปกรณ์ป้อนข้อมูล (keyed  device)

 แป้นพิมพ์  (Keyboard)

มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ของแป้นพิมพ์ดีด  มีจำนวนแป้น  84 -105 แป้น ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้

แป้นอักขระ  (alphabetic  keys)  เป็นแป้นที่มีการจัดวางอักขระเหมือนกับแป้นพิมพ์ดีดทั่วไป

แป้นตัวเลข  (numeric  keypad)  เป็นแป้นตัวเลขทางขวามือ  ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับงานที่ต้องป้อนข้อมูลตัวเลขเป็นประจำ

แป้นฟังก์ชัน  (function  keys)  เป็นแป้นที่อยู่บนแถวแรกของแป้นพิมพ์ ใช้สัญลักษณ์  F1 - F12  แป้นฟังก์ชันเป็นแป้นทางลัดในการเลือกคำสั่ง  ซึ่งแต่ละแป้นได้มีการบันทึกคำสั่งไว้แล้ว  และแป้นฟังก์ชั่นของแต่ละโปรแกรมจะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป  โปรแกรมสำเร็จรูปส่วนใหญ่จะแป้นฟังก์ชันเพื่อเข้าถึงคำสั่งโดยทางลัดได้

แป้นลูกศร  (arrow  keys)  เป็นแป้นที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์

แป้นควบคุม  (control  keys)  เป็นแป้นพิมพ์ที่ทำหน้าที่ร่วมกับแป้นพิมพ์อื่น ๆ เช่น แป้น Ctrl แป้น Shift และแป้น Alt เป็นต้น

keyboard

    นอกจากแป้นพิมพ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปแล้ว  ยังมีแป้นพิมพ์แบบไร้สาย  (wireless)  ที่สามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์  ผ่านแสงอินฟาเรด  และยังมีปุ่มเมาส์อยู่บนแป้นพิมพ์ด้วย  นอกจากนี้ยังมีแป้นพิมพ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับงานเฉพาะด้าน เพื่อเป้นการอำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการบันทึก  ตัวอย่างเช่น  แป้นพิมพ์เพื่องานธนาคาร  ร้านอาหารจานด่วน  ตู้ถอนเงินอัตโนมัติ  (ATM)  เป็นต้น

 หลักการทำงาน

     เมื่อกดแป้นพิมพ์แป้นใดบน  Keyboard  หมายถึง  การส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายสัญญาณเป็นรหัสเลขฐานสอง  (Binary  Code)  โดยเรียกว่า  scan  code  ซึ่งจะมีหน่วยความจำชั่วคราวที่เรียกว่า  type - ahead  buffer  ช่วยเก็บรหัสไว้เพื่อรอส่งให้แก่หน่วยประมวลผลเมื่อพร้อมที่จะรับและนำไปประมวลผลต่อไป

        


อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งและวาดรูป  (pointing  and  drawing  devices)

 เมาส์  (Mouse)

คือ  อุปกรณ์ที่นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไปในปัจจุบัน  มีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับหน่วยระบบ  (System  Unit)  ของไมโครคอมพิวเตอร์  ด้านบนของ  Mouse  จะมีปุ่มกด 2 - 3 ปุ่มสำหรับกด  ใช้ประโยชน์ในการควบคุมตำแหน่งหรือเคอร์เซอร์  (Cursor)  บนจอภาพ  ควบคุมการเลือกรายการ  การสั่งงานในโปรแกรมประเภทที่มีการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก  (Graphic  User  Interface : GUT)  ได้อย่างรวดเร็ว  โดยมีตัวชี้  (Mouse  Pointer)  เป็นตัวชี้ตำแหน่งต่าง ๆ บนจอภาพ 

 

     ปัจจุบันเมาส์มีชนิดไร้สาย  (wireless)  ติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยใช้แสงอินฟาเรดและคลื่นสัญญาณและเมาส์บางชนิดจะมีแท่งชี้ควบคุม  (trackpoint) 

 หลักการทำงาน

      เมาส์จะมีล้อยางเป็นลูกกลิ้งอยู่ด้านล่าง  เมื่อผู้ใช้เมาส์เลื่อนเมาส์ไปบนแผ่นรองเมาส์  (Mouse  pad)  หรือพื้นโต๊ะ  จะทำให้ลูกกลิ้งด้านล่างหมุนและทำให้แกนภายในของเมาส์หมุน  ก็จะส่งสัญญาณเป็นพิกัดในการเลื่อนตำแหน่งชี้  (Mouse  Pointer)  ของเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ  เมื่อต้องการเลือกส่งต่าง ๆ บนจอภาพ ทำได้โดยการกดปุ่มซ้ายหรือขวา 1 ครั้ง (Click) หรือ 2 ครั้ง (Double Click) การทำงานของเมาส์นี้จะต้องควบคุมด้วยโปรแกรมที่เรียกว่า  Mouse  Driver 

 ลูกกลมควบคุม  (trackball)

     เป็นอุปกรณ์ใช้ชี้ตำแหน่งคล้ายเมาส์  ต่างกันที่ลูกบอลของ  Trackball  จะอยู่ด้านบน  แต่ลูกบอลของเมาส์จะอยู่ด้านล่าง  เมื่อจะใช้  trackball  ผู้ใช้จะหมุนลูกบอลไปในทิศทางที่ต้องการ  แต่ถ้าใช้เมาส์ผู้ใช้จะต้องเคลื่อนที่ทั้งตัวเมาส์  โดยทั่วไปลูกบอลของ  trackball  จะมีขนาดใหญ่กว่าลูกบอลของเมาส์เพื่อความสะดวกในการควบคุมด้วยนิ้วมือและฝ่ามือ  trackball  ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นราบว่างในการเคลื่อนที่เหมือนเมาส์  และส่วนใหญ่จะถูกออกแบบให้ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา

 แท่งชี้ควบคุม  (trackpoint)

     แท่งชี้ควบคุมหรือ  trackpoint  เป็นอุปกรณ์ชี้ตำแหน่งที่มีขนาดเล็กคล้ายกับแท่งยางลบดินสอ  และนิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา  เพราะใช้พื้นที่น้อย  ข้อดีของแท่งชี้ควบคุมอีกประการหนึ่งคือ  ไม่ต้องทำความสะอาดบ่อยเหมือนกับเมาส์

 แผ่นสัมผัส  (touchpad)

     แผ่นสัมผัส  (touchpad)  บางครั้งเรียก  trachpad  เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมใช้การเคลื่อนไหวของนิ้วมือเพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้ตำแหน่ง  แผ่นสัมผัสนิยมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา  เช่นเดียวกับ  trackball  และ  trackpoint 

 จอยสติก  (Joystick)

      คือ  อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคันโยก  มีปุ่มบังคับที่ด้ามคันโยก เพื่อควบคุมตำแหน่งบนจอภาพได้ทุกตำแหน่งและทุกทิศทาง  มักใช้ควบคุมโปรแกรมประเภทเกมส์ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว  วีดีโอเกมส์  หรือโปรแกรมประเภทการออกแบบ  ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและสะดวก

 ปากกาแสง  (light  pen)

     เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สัมผัสกับจอภาพ  เพื่อใช้ชี้ตำแหน่งและวาดข้อมูล  ปากกาแสงนิยมใช้กับงานด้านการออกแบบอุปกรณ์  เช่น  ไมโครโปรเซสเซอร์  และชิ้นส่วนของเครื่องบิน

 เครื่องอ่านพิกัด  (digitizing  tablet)

digitizer  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูล  (อ่านพิกัด)  ที่เป็นเส้นตรง  เส้นโค้ง  ภาพวาด  หรือภาพถ่ายให้เป็นสัญญาณดิจิตอล  จากนั้นก็จะถ่ายทอดสัญญาณนั้นไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์  ผู้ใช้สามารถตกแต่งข้อมูลโดยใช้ปากกาเฉพาะที่เรียกว่า  stylus  วาดไปบน  digitizer  ได้

graphics  tablet  ทำงานลักษณะเดียวกับ  digitizer  ต่างกันที่  graphics tablet จะมีอักขระและคำสั่งพิเศษสำเร็จรูปอยู่บนแผ่น tablet นิยมใช้สำหรับงานออกแบบสถาปัตยกรรม

 

 จอภาพสัมผัส  (Touch  Screen)

     คือจอภาพ (Screen)  ที่สามารถรับข้อมูลโดยการใช้นิ้วมือสัมผัสหรือแตะลงบนจอภาพตำแหน่งต่าง ๆ touchscreenเพื่อเลือกหรือควบคุมการทำงานของโปรแกรมได้  เนื่องจากที่จอภาพแบบสัมผัสจะสร้างให้มีอุปกรณ์ลักษณะพิเศษ (Sensors) รับรู้การสัมผัส ณ ตำแหน่งต่าง ๆ บนจอภาพได้ ทำให้การใช้งานโปรแกรมควบคุมได้โดยตรงจากการสัมผัสที่จอภาพ  โปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่สร้างขึ้นต้องสนับสนุนการใช้จอภาพแบบสัมผัสด้วย  ส่วนใหญ่มักจะเป็นโปรแกรมประเภทติดต่อกับผู้ใช้เป็นรูปภาพ (Graphic or Icon)  Touch Screen ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลด้วย เรียกว่าInput/Output Devive

      จอภาพสัมผัสไม่นิยมใช้กับงานที่ต้องป้อนข้อมูลจำนวนมากเข้าสู่ระบบส่วนใหญ่นิยมใช้กับงานเฉพาะอย่างที่ให้ผู้ใช้เลือกจากรายการที่กำหนดไว้  เช่น  การให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหารจานด่วน สถานีบริการน้ำมัน ตู้เกมส์ตามศูนย์การค้า  เป็นต้น

 สมุดบันทึกดิจิตอล  (digital notebook)

digitalnoetbook

      เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยแผ่นกระดาษโน้ต  หรือกระดาษที่ใช้เขียนงานทั่วไป ซึ่งจะต้องวางอยู่บนแผ่นอิเล็กทรอนิกส์  แล้วใช้งานร่วมกับปากกาชนิดพิเศษที่สามารถส่งสัญญาณที่เขียนบนสมุดลงไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ และผู้ใช้สามารถเรียกดู แก้ไข หรือตกแต่งได้ตามต้องการ

อุปกรณ์กวาดข้อมูล  (scanning  devices)

สแกนเนอร์  (Scanner)

       คือ  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับหรือตรวจกวาด  (Scan)  ข้อมูลประเภทที่เป็นรูปภาพเข้าสู่ระบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์  โดยรูปแบบข้อมูลที่รับเข้าไปจะเป็นข้อมูล  ประเภทรูปภาพ  (Image  File)  scannerโดยใช้แสงเลเซอร์คล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร  มีโปรแกรมควบคุมการทำงาน  เรียกว่า  Scanner  Driver  สามารถรับภาพได้ทั้งภาพสีและภาพขาวดำ  ภาพที่ได้ขึ้นอยู่กับความละเอียดของจุด  (Resolution)  ที่สามารถ  Scan  ได้  เช่น  150, 300, 600, 1200 DPI  (Dot  Per  Inch)  และรูปภาพที่ได้ต้องนำไปจัดการด้วยโปรแกรมประเภท  Graphic  Software  เช่น  Adobe  Photoshop  แบ่งเครื่องสแกนเนอร์  (Scanner)  ออกเป็น 2 ประเภท คือ - Faltbed Scanner  เป็นชนิดตั้งโต๊ะมีขนาดใหญ่สามารถสแกน (Scan) ได้ทั้งภาพสี และขาวดำ ขนาดใหญ่สุดขนาดกระดาษ A4 หลักการเหมาะสำหรับงานสำนักงานที่ต้องการคุณภาพสูง

หลักการทำงาน

      คือ วางต้นฉบับบนกระจกแก้วของเครื่อง Scanner  เมื่อเริ่ม Scan หลอดแสงเลเซอร์ด้านล่างจะเคลื่อนที่ผ่านภาพที่วางไว้ เพื่อรับภาพเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

-Hand-held Scanner  เป็นชนิดมือถือ  เหมาะสำหรับการนำติดตัวไปใช้นอกสถานที่ ผู้ใช้จะต้องทำการเคลื่อนหัวอ่านของ Scanner  ผ่านภาพขณะทำร  Scan  อาจทำให้ภาพไม่นิ่งพอ  ขนาดของภาพใหญ่ต้อง  Scan  อีกครั้ง

เครื่องอ่านรหัสแท่ง  (Bar  Code  Reader)

       เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายปากกาหรือลักษณะอื่น ๆ ทำหน้าที่อ่านแถบรหัสข้อมูลbarcode  (Bar Codes)  ที่ติดไว้บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์  โดยทั่วไปมักนิยมใช้บริการขายสินค้า  ณ  จุดซื้อขาย  (Point  Of  Sales  Terminals : POS)  ของธุรกิจร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า หรือการบริการยืม - คืน หนังสือในห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่ต้องการความรวดเร็วในการกรอกรายละเอียดข้อมูลที่เป็นข้อความและตัวเลข Bar Codes Reader  ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการกรอกข้อมูลทางแป้นพิมพ์ที่มีรายละเอียดตัวอักษรและตัวเลขจำนวนมาก

หลักการทำงาน

       ใช้วิธีการยิงแสงเลเซอร์เพื่ออ่านแถบรหัสแท่งสีดำพิมพ์เรียงกันไว้ มีขนาดหนาบางแตกต่างกัน ติดอยู่บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แล้วข้อมูลรหัสที่ได้นำไปเปรียบเทียบกับรายละเอียดข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล (Database) แล้วนำไปแปลงเป็นรายละเอียดข้อมูลบันทึกจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป  โดยที่การทำงานของ  Bar Code Reader  นั้น  จะต้องมีโปรแกรมควบคุมการทำงานด้วย

เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง

       เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม  หรือกระดาษคำตอบคอมพิวเตอร์  ซึ่งจะต้องทำเครื่องหมายลงในแบบฟอร์มให้ชัดเจน  โดยส่วนมากจะใช้ดินสอ 2B เพื่อให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลได้  ลักษณะงานที่นิยมใช้ เช่น การอ่านกระดาษคำตอบปรนัย  เป็นต้น

optical

เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง

       เป็นอุปกรณ์ที่สามารถอ่านอักขระจากเอกสารประเภทต่าง ๆ เช่น เอกสารจากลายมือ  เอกสารที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์  การทำงานของ  OCR  จะอ่านลักษณะรูปร่างของอักขระและนำไปเปรียบเทียบกับรูปร่างของอักขระที่บันทึกไว้แล้วในหน่วยความจำ  จากนั้นจะแปลงอักขระนั้น ๆ ให้เป็นรหัสคอมพิวเตอร์

เอ็มไอซีอาร์  (MICR)

       เป็นอุปกรณ์เพื่อรับข้อมูลและประมวลผลข้อความหรือเครื่องหมายที่พิมพ์ด้วยหมึกแม่เหล็ก เช่น เช็ค นิยมใช้ในงานธนาคาร โดยเช็คที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลจากธนาคารจะมีหมายเลขเช็ค รหัสธนาคาร และหมายเลขบัญชีปรากฎอยู่ด้านล่างของตัวเช็ค เมื่อเช็คผ่านการประมวลผลจากธนาคารแล้ว จำนวนเงินของเช็คฉบับนั้นจะถูกพิมพ์ที่มุมล่างด้านขวาของตัวเช็ค ต่อจากนั้นก็สามารถจะนำเช็คไปอ่านหรือเรียงลำดับด้วยเครื่อง MICR

อุปกรณ์อ่านลายมือเขียน

       เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดกับกระดานไวท์บอร์ดทั่ว ๆ ไป  เพื่อจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อความ หรือรูปภาพที่อยู่บนกระดานไวท์บอร์ดที่เขียนด้วยปากกาชนิดพิเศษให้อยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูล  เพื่อนำไปใช้กับงานต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น การจัดเก็บเนื้อหาการสอน แล้วนำไปทำเป็นสื่อการสอนในรูปแบบของ  CD-ROM หรือเว็บเพจ เป็นตัน

อุปกรณ์รับ - แสดงเสียง (Audio - Input / Output Devices)

       คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับหรือแสดงผลที่เป็นสัญญาณเสียง  (Audio)  เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์ดังกล่าว ได้แก่ แผงวงจรเสียง หรือ Sound  Card  ซึ่งทำหน้าที่ในการรับข้อมูลที่เป็นเสียงซึ่งเป็นสัญญาณ  อนาล็อก  (Analog)  ผ่านทางไมโครโฟน  (Microphone)  หรือเสียงดนตรีนำมาแปลงให้เป็น  สัญญาณดิจิตอล  (Digital)  เพื่อนำไปประมวลผล  เมื่อประมวลผลแล้ว  Sound  Card  จะทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลดิจิตอลจากคอมพิวเตอร์ให้กลับมาเป็นข้อมูลอนาล็อก  เพื่อนำไปแสดงผลเป็นเสียงออกทางลำโพง  (Speaker)  อีกครั้ง  จึงมีคุณสมบัติเป็นทั้ง  Input / Output Device  โดยการทำงานของ  Sound  Card  จะมีโปรแกรมควบคุมเรียกว่า  Sound  Driver  ในปัจจุบันเครืองไมโครคอมพิวเตอร์จะนิยมติดตั้ง  Sound  Card  เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์เป็น  Multimedia  Computer  สามารถนำเสนอผลเป็นเสียงได้

อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง  (sound  input  devices)

       โดยปกติเสียงจะถูกบันทึกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้ไมโครโฟนซึ่งเชื่อมต่อกับการ์ดเสียง  (Sound  Card)  เสียงที่เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์  สามารถที่จะนำมาแก้ไข  เปลี่ยนแปลงโดยใช้โปรแกรมจัดการเสียง

อุปกรณ์รับข้อมูลประเภทเสียงพูด  (voice  input  devices)

       การรับข้อมูลประเภทเสียงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์  หมายถึงการรู้จำเสียง  ซึ่งอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลประเภทเสียงนี้  สามารถที่จะทำให้ผู้ใช้สั่งคอมพิวเตอร์  โดยใช้เสียงพูดของผู้ใช้ได้  คาดการณ์ว่าการสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยเสียงจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมนุษย์สามารถพูดได้เร็วกว่าการพิมพ์  นอกจากนี้การพูดถือว่าเป็นพฤติกรรมทางธรรมชาติของมนุษย์มากกว่าการพิมพ์  ซึ่งการพิมพ์นั้นจะต้องใช้เวลาในการฝึกหัด

อุปกรณ์รับข้อมูลมัลติมีเดีย

กล้องดิจิตอล  (digital  camera)

       ลักษณะคล้ายกล้องที่ใช้ถ่ายรูปโดยทั่วไป  แตกต่างที่กล้องดิจิตอลจะจัดเก็บภาพในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอลบนแผ่นดิสก์  หรือในหน่วยความจำแทนที่จะเก็บภาพไว้ในรูปแบบของฟิล์ม

อุปกรณ์รับข้อมูลจากวิดีโอ  (video  input)

       ข้อมูลจากวิดีโอจะสามารถบันทึกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์  โดยใช้กล้องวิดีโอดิจิตอล  (digital  video  camera)  ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายกับกล้องดิจิตอลแต่กล้องวิดีโอดิจิตอลสามารถบันทึกภาพที่ต่อเนื่องกันได้

       นอกจากกล้องวิดีโอดิจิตอลแล้ว  การบันทึกข้อมูลต่อเนื่องหรือภาพเคลื่อนไหวยังสามารถใช้การ์ดวิดีโอที่ใช้ตัดต่อภาพจากข้อมูลที่จัดทำด้วยกล้องวิดีโอแบบปกติเพื่อแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของดิจิตอลให้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น